ปวดเอว

ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการปวดหลังโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการปวดหลังรุนแรงที่มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ดังนั้น การพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาอาการปวดหลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ

คนที่กลัวการผ่าตัดกระดูกสันหลังในอดีตนั้น สามารถวางใจได้ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ในการผ่าตัดนั้นส่งผลให้คนไข้ ฟื้นตัวไว แผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นสั้น ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งก็สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของคนในปัจจุบัน
อาการปวดหลังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัยและทุกกลุ่มประชากรทั่วโลก ในผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงจนมีผลกับงาน และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

ปวดเอว

อาการปวดหลัง มีกี่แบบ
ถ้าแบ่งตามช่วงเวลาของอาการ อาการปวดหลัง อาจเกิดแบบ

ปวดฉับพลัน (Acute: ปวดหลังต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์)
กึ่งเฉียบพลัน (Subacute: ปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์)
ปวดเรื้อรัง (Chronic: ปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์)
ในประเทศอุตสาหกรรม ความชุกชั่วชีวิต (Lifetime Prevalence) ของโรคปวดหลังพบประมาณ 60-70% (ความชุกต่อปี ประมาณ 15-45% ส่วนอุบัติการณ์ในผู้ใหญ่พบได้ประมาณ 5% ต่อปี)

สาเหตุของอาการปวดหลัง
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ ที่มากระตุ้นทำให้มีอาการปวดหลัง เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่หนักเกินไป การเคลื่อนไหวผิดลักษณะ

แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการปวดหลังโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น การพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาอาการปวดหลังเป็นสิ่งสำคัญ โดยสาเหตุหรือกลุ่มโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมาอาการปวดหลัง ได้แก่

กล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบ (Muscle Strain or Ligament Sprain) การอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณหลัง พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับกิจกรรมที่หนักเกินไป เช่น ก้มตัวยกของหนัก การนั่งอยู่ท่าเดิมนานๆ การเคลื่อนไหวผิดท่าด้วยความรวดเร็ว รวมถึงการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
โรคของหมอนรองกระดูก ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และมักมีอาการซ้ำได้บ่อยๆ ส่วนอาการปวดหลังร่วมกับอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดร้าวลงขา ขาชา หรืออ่อนแรง มักสัมพันธ์กับภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการปวดหลังที่สัมพันธ์กับความเสื่อมของกระดูกสันหลัง ได้แก่ ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกสันหลังคด หรือค่อม ผิดรูป
ภาวะปวดหลังจากสาเหตุอื่นๆ
ปวดหลังจากกระดูกหัก ไม่ว่าจะเป็นการหักแบบธรรมชาติ (Physiologic Fracture) ได้แก่ กระดูกสันหลังหักจากอุบัติเหตุทั่วๆ ไป หรือ กระดูกหักแบบผิดธรรมชาติ (Pathologic Fracture) เช่นกระดูกหักจากการติดเชื้อกระดูกสันหลัง วัณโรคกระดูกสันหลัง หรือหักจากเนื้องอก มะเร็ง
ปวดหลังจากการข้อต่ออักเสบ (Arthritis) เช่น ข้อต่อแฟเซทอักเสบ (Facet Arthritis) การอักเสบระหว่างข้อต่อที่เชื่อมกระดูกสันหลังและเชิงกราน (SI Joint Arthritis) ปวดหลังจากโรคข้อต่อหลังเชื่อมติดกัน (Ankylosing Spondylitis)
ปวดหลังจากการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง
ปวดหลังจากเนื้องอก หรือมะเร็งกระดูก

ความเสี่ยงของอาการปวดหลัง
อายุ
ภาวะอ้วน
กิจกรรมที่หนักเกินไป
การขาดการออกกำลังกาย
การสูบบุหรี่
ความเครียด
ปวดหลังแบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์ (Red flag sign)
ปวดหลังต่อเนื่อง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 4 สัปดาห์
ปวดหลังที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง
ปวดหลังร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ชาขา หรืออ่อนแรงของขา
ปวดหลังร่วมกับการควบคุมการขับถ่ายที่เสียไป เช่น สูญเสียการกลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ
ปวดหลังร่วมกับอาการไข้ น้ำหนักลด

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ diasdetango.com